วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559

โวหารการเขียน คืออะไรนะ ?

โวหารการเขียน


                มี ๕ โวหาร  คือ บรรยายโวหาร  พรรณนาโวหาร  เทศนาโวหาร  สาธกโวหาร
          1.  บรรยายโวหาร  คือ โวหารที่ใช้เล่าเรื่อง หรืออธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ตามลำดับเหตุการณ์ การเขียนบรรยายโวหาร จะมุ่งความชัดเจน เขียน ตรงไปตรงมา รวบรัด กล่าวถึงแต่สาระสำคัญไม่จำเป็นต้องมีพลความ หรือความปลีกย่อยเสริม ในการเขียนทั่ว ๆ ไปมักใช้บรรยายโวหาร เพราะเหมาะในการติดต่อสื่อสารเนื่องจากสำนวนประเภทนี้มุ่งสาระเขียนอย่าง สั้น ๆ ได้ความชัดเจนงานเขียนที่ควรใช้บรรยายโวหาร ได้แก่ การเขียนอธิบายประเภทต่าง ๆเช่น เขียนรายงานวิทยานิพนธ์ ตำรา บทความ การเขียนเพื่อเล่าเรื่อง เช่น บันทึก จดหมายเหตุ การเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็นประเภทบทความเชิงวิจารณ์ ข่าว เป็นต้น

หลักการเขียนบรรยายโวหาร 

        1) เรื่องที่เขียนต้องเป็นเรื่องจริง ผู้เขียนควรมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะเขียนเป็นอย่างดี โดยอาจรู้มาจากประสบการณ์ หรือการค้นคว้าก็ได้
        2) เลือกเขียนเฉพาะสาระสำคัญ ไม่เน้นรายละเอียด แต่เขียนตรงไปตรงมาไม่อ้อมค้อม
        3) ใช้ภาษาให้เข้าใจง่าย หากต้องการจะกล่าวให้ชัดอาจใช้อุปมาโวหารและสาธกโวหารเข้าช่วยได้บ้าง แต่ต้องไม่มากจนส่วน ที่เป็นสาระสำคัญกลายเป็นส่วนด้อยไป
        4) เรียบเรียงความคิดให้ต่อเนื่อง และสัมพันธ์กัน

ตัวอย่างบรรยายโวหาร

  “ … ทุก ครั้งที่พ่อไปเมืองนอก พ่อหาโอกาสไปดูสถานที่น่าสนใจและดูความเปลี่ยนแปลง ความก้าวหน้าของชาติต่างๆอยู่เสมอ และพ่อจะกลับมาเล่าให้ฟังอย่างมีระบบและละเอียดลออพร้องทั้งของฝากที่น่า สนใจ ครั้งหนึ่งพ่อซื้อตุ๊กตามาฝากจุ๊ เป็นตุ๊กตาประหลาด เพราะมันหลับตาและลืมตาได้ สวยจนเราแทบไม่น่าจับ แต่จี๊ดสนใจมาก จนอยากรื้อออกมาดูว่ามีกลไกอะไรที่ทำให้มันหลับตาได้… ”
จากเรื่อง “ พ่อเล่า ” ของ จารุณี สูตะบุตร

                2.  พรรณนาโวหาร  มีจุดมุ่งหมายในการเขียนต่างจากบรรยายโวหาร คือมุ่งให้ความแจ่มแจ้ง ละเอียดลออ เพื่อให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ซาบซึ้งเพลิดเพลินไปกับข้อความนั้นการเขียนพรรณา โวหารจึงยาวกว่าบรรยายโวหารมาก แต่มิใช่การเขียนอย่างเยิ่นเย้อ เพราะพรรณนา-โวหารต้องมุ่งให้ภาพ และอารมณ์ ดังนั้น จึงมักใช้การเล่นคำ เล่นเสียง ใช้ภาพพจน์ แม้เนื้อความที่เขียนจะน้อยแต่เต็มด้วยสำนวนโวหารที่ไพเราะ อ่านได้รสชาติเป็นโวหารที่ใช้ถ้อยคำอธิบายหรือบรรยายสิ่งที่พบเห็นอย่าง ละเอียด โดยใช้สำนวนโวหารที่ไพเราะสอดแทรกอารมณ์ความรู้สึกของผู้เขียน เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความประทับใจและความซาบซึ้งมีความรู้สึกและเห็นภาพตามไป ด้วยกับคำพรรณนาโวหาร วิธีการเขียนพรรณนาโวหาร ผู้เขียนต้องรู้จักใช้ถ้อยคำที่ประณีตให้ความรู้สึกโดยหยิบยกลักษณะสำคัญมา กล่าว การใช้ถ้อยคำในการบรรยายลักษณะจะใช้ถ้อยคำที่แสดงรูปธรรม เช่น บอกลักษณะ สีสัน รูปร่าง เวลาเพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพชัดเจน หรือใช้ถ้อยคำทำให้เกิดความไพเราะ

หลักการเขียนพรรณนาโวหาร

                1) ต้องใช้คำดี หมายถึง การเลือกสรรถ้อยคำ เพื่อให้สื่อความหมาย สื่อภาพ สื่ออารมณ์เหมาะสมกับเนื้อเรื่องที่ต้องการบรรยายควรเลือกคำ ที่ให้ความหมายชัดเจน ทั้งอาจต้องเลือกให้เสียงคำสัมผัสกันเพื่อเกิดเสียงเสนาะอย่างสัมผัสสระ สัมผัสอักษร         ในงานร้อยกรอง
                2) ต้องมีใจความดี แม้จะพรรณนายืดยาว แต่ใจความต้องมุ่งให้เกิดภาพ และอารมณ์ความรู้สึกสอดคล้องกับเนื้อหาที่กำลังพรรณนา
                3) อาจต้องใช้อุปมาโวหาร คือ การเปรียบเทียบเพื่อให้ได้ภาพชัดเจน และมักใช้ศิลปะการใช้คำที่เรียกว่า ภาพพจน์ประเภทต่าง ๆ ทั้งนี้เป็นวิธีการที่จะทำให้พรรณนาโวหารเด่น ทั้งการใช้คำ และการใช้ภาพที่แจ่มแจ้ง อ่านแล้วเกิดจินตนาการและความรู้สึกคล้อยตาม
                4) ในบางกรณีอาจต้องใช้สาธกโวหารประกอบด้วย คือ การยกตัวอย่างเพื่อให้เกิดความแจ่มแจ้ง โดยยกตัวอย่างสิ่งที่ละม้ายคล้ายคลึงกัน เพื่อให้เกิดภาพและอารมณ์เด่นชัดพรรณนาโวหารมักใช้กับการชมความงามอื่น ๆ เช่น ชมสถานที่ สรรเสริญบุคคล หรือใช้พรรณนาอารมณ์ ความรู้สึก เช่น รัก เกลียด โกธร แค้น เศร้าสลด เป็นต้น
  
ตัวอย่างการพรรณนาโวหาร

“ … จิวยืนอยู่ห่างจากเต่านั้นเล็กน้อย เขานุ่งกางเกงขาสั้นสีน้ำเงินเข้ม ท่อบนของร่างกายเปล่าเปลือยผิวขาวจัดของเขาถูกกระไอร้อนของน้ำมันที่เดือด พล่านอยู่ในกระทะรมเสียจนขึ้นเสียระเรื้อแดง และเหงื่อที่พรั่งผุดออกมาตามขุมขนสะท้านกับเปลวไฟที่แลบเลียอยู่ขอบกระทะแล เป็นเงาวับเขากำลังใช้ตะหลิวด้าวยาวคนกวนชั้นมันหมูที่กำลังถูกเคี่ยวลอย ฟ่องอยู่มนกระทะอย่างขะมักเขม้น สองมือของเขากำอยู่ที่ด้าวตะหลิวท่อนแขนที่ค่อยๆกวนตะหลิวไปมานั้นเกร็งเล็ก น้อย จนแลเห็นกล้ามเนื้อขึ้นเป็นลอนเมื่อมองผาดผ่านมายังลำตัวของเขาหล่อนก็ ประจักษ์ถึงความล่ำสันแข็งแรงแผงอก แม้จะไม่กำยำผายกว้าง แต่ก็มีมัดกล้ามขึ้นเป็นลอนดูทรงพลังหน้าท้องราบเรียบบ่งบอกว่าทำงานออก กำลังอยู่เป็นนิจ เอวค่อนข้างคอดเป็นรูปสวยรับกับท่อนขาที่ยาวแบบคนสูงเมื่อเขายืนแยกขาออก ห่างจากกันเพื่อได้รับน้ำหนักได้เหมาะสมด้วยเช่นนี้ แลดูเหมือนเสากลมเรียวสองต้นที่ประสานลำค้ำจุนร่างกายของเขาอย่างมั่นคง… ”
จาก “กตัญญูพิศวาส” ของ หยก บูรพา

ตัวอย่าง

                “ ชั่วเหยี่ยวกระหยับปีกกลางเปลวแดด              ร้อนที่แผดก็ผ่อนเพลาพระเวหา
พอใบไหวพลิกริกริกมา                                                       ก็รู้ว่าวันนี้มีลมวก
                เพียงกระเพื่อมเลื่อมรับวับวับไหว                                      ก็รู้ว่าน้ำใสใช่กระจก
เพียงแววตาคู่นั้นหวั่นสะทก                                                 ก็รู้ว่าในอกมีหัวใจ “
เพียงความเคลื่อนไหว ของเนาวรัตน์ พงศ์ไพบูลย์ )
   
                  3.  เทศนาโวหาร  หมายถึง โวหารที่มีจุดหมายแสดงความแจ่มแจ้งเพื่อให้ผู้อ่านคล้อยตามหรืออาจกล่าวได้ ว่ามุ่งชักจูงให้ผู้อ่าน คิดเห็นหรือคล้อยตามความคิดเห็นของผู้เขียนเทศนาโวหาร จึงยากกว่าโวหารที่กล่าวมาแล้วทั้ง 2 โวหาร เพราะต้องใช้กลวิธีในการชักจูงใจเป็นถ้อยคำโวหารที่ใช้อธิบายความคิดเหตุผล โดยต้องการให้ผู้อ่านเข้าใจและเห็นด้วย เกิดความเชื่อถือและปฏิบัติตาม วิธีการเขียน ผู้เขียนต้องเขียนอธิบาย หรือให้คำจำกัดความของสิ่งที่จะชี้แจงก่อน จากนั้นจึงกล่าวถึงเหตุผลที่จะเกิดตามมา อธิบายคุณและโทษพร้อมยกตัวอย่างประกอบหรือเปรียบเทียบให้ผู้อ่านเข้าใจดี ขึ้น การยกตัวอย่างประกอบเรื่องรวในเทศนาโวหารนั้นเป็นสาธกโวหารประกอบเทศนาโวหาร เสมอ

หลักการเขียนเทศนาโวหาร 

               การเขียนเทศนาโวหารต้องใช้โวหารประเภทต่าง ๆ มาประกอบ กล่าวคือทั้งใช้บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร รวมทั้งอุปมาโวหาร และ สาธกโวหารด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ใจความชัดเจนแจ่มแจ้ง มีทั้งความหลักและความรองเป็นที่เข้าใจจนเกิดความรู้สึกนึกคิดคล้อยตามผู้ เขียน ไปได้หากเป็นการแสดงความคิดเห็นควรอธิบายทั้งด้านที่เป็นประโยชน์และโทษ หรือแสดงเหตุและผลการเขียนเทศนาโวหาร ผู้เขียนต้อง มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เขียนเป็นอย่างดี สามารถอธิบายอย่างชัดเจน ทั้งควรพรรณนาให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ต้องรู้จักใช้เหตุผล และหลักฐานสนับสนุนความคิดเห็นที่ตนเสนอด้วย การลำดับความให้สัมพันธ์กันอย่างมีเหตุผลจึงเป็นหลักสำคัญอีกประการหนึ่ง ในการเขียนเทศนาโวหารโดยทั่วไปมักเข้าใจกันว่า เทศนาโวหาร แปลว่า โวหารที่มุ่งสั่งสอน โดยตีความคำว่าเทศนา ว่าสั่งสอน ความจริงเทศนาในที่นี้ หมายถึง แสดง กล่าวคือ แสดงอย่างแจ่มแจ้งเพื่อให้เห็นคล้อยตาม รูปแบบงานเขียนที่ควรใช้เทศนาโวหารคือ งานเขียนประเภทบทความชักจูงใจ หรือบทความแสดงความคิดเห็น ความเรียง เป็นต้น

ตัวอย่างเทศนาโวหาร 

                 การอบรม สั่งสอนลูกเคร่งครัดมากมายเกินไป ก็อาจเป็นผลร้ายได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นวิธีเลี้ยงลูกที่ดีก็คือ เดินตามทางสายกลาง อย่าให้ตึงหรือหย่อนเกินไป ควรเปิดโอกาสให้เด็กหรือลูกได้ใช้ความคิด ได้ทดลอง ได้มีประสบการณ์ต่างๆได้รู้วิธีช่วยตัวเอง ได้ฝึกแก้ปัญหาของตัวเองให้มากส่วนที่จะควบคุมกันควรเป็นแต่เรื่องกรอบของ กฎหมายและศีลธรรมเท่านั้นการสอนให้เขาได้ทำกิจกกรมที่เป็นประโยชน์ที่เขาพอ ใจให้มากย่อมีกว่าการตั้งแต่ข้อห้าม หรือการให้ทำตามคำสั่งแต่ฝ่ายเดียว
จากเรื่อง “ เหมือนๆ จะแพ้แต่ไม่แพ้ ”
ของธรรมจักร สร้อยพิกุล

ตัวอย่าง

โยคีสอนสุดสาครในเรื่องพระอภัยมณี
“ บัดเดี๋ยวดังหง่างเหง่งวังเวงแว่ว                         สะดุ้งแล้วเหลียวแลชะแง้หา
เห็นโยคีขี่รุ้งพุ่งออกมา                                         ประคองพาขึ้นไปจนบนบรรพต
แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์                                  มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
อันเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด                               ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน    ( สุนทรภู่ )

                  4. สาธกโวหาร  คือ โวหารที่มุ่งให้ความชัดเจน โดยการยกตัวอย่างเพื่ออธิบายให้แจ่มแจ้งหรือสนับสนุนความคิดเห็นที่เสนอให้ หนักแน่น น่าเชื่อถือ สาธกโวหารเป็นโวหารเสริม บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร และเทศนาโวหารเช่นการเลือกยกตัวอย่างมีหลักที่ควรเลือกให้เข้ากับเนื้อความ อาจยกตัวอย่างสั้น ๆ ในบรรยายโวหารหรืออาจยกตัวอย่างที่มีรายละเอียดประกอบในพรรณนาโวหาร และเทศนาโวหาร เป็นต้น ในการเขียนข้อเขียนต่าง ๆ นิสิตควรรู้จักเลือกใช้โวหารให้เหมาะกับจุดมุ่งหมายในการเขียนและเนื้อหาใน บางโอกาส อาจต้องใช้โวหารหลายชนิดในงานเขียนชิ้นหนึ่งก็ได้ หลักสำคัญอยู่ที่ว่าต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับโอกาส จุดมุ่งหมายและเขียนได้อย่างถูกต้อง ตามลักษณะโวหารนั้น ๆเป็นการยกตัวอย่างประกอบเรื่องราว เพื่อให้ข้อความนั้นเด่นชัดขึ้น หรือข้อเปรียบเทียบประกอบอย่างมีเหตุผล

การเขียนสาธกโวหาร 

            ๑. การเขียนสาธกโวหารจะเขียนควบคู่กับเทศนาโวหาร หรือบรรยายโวหาร โดยการยกตัวอย่างประกอบ
            ๒. ตัวอย่างที่ยกมาประกอบต้องสอดคล้องสัมพันธ์กับเนื้อความในเทศนาโวหารหรือบรรยายโวหาร
            ๓. ต้องยกตัวอย่างชัดเจนใช้ถ้อยคำง่าย และควรสรุปหลังจากยกตัวอย่างประกอบแล้ว ให้เห็นความสำพันธ์ของเทศนาโวหารกับสาธกโวหารหรือบรรยายโวหารกับสาธกโวหาร

ตัวอย่างสาธกโวหาร

              ใน เรื่องน้ำ เรามองว่าประเทศไทยมีน้ำเยอะแยะ เราไม่เคยคิดประหยัดว่าจะใช้น้ำคุ้มค่าที่สุดอย่างไร เช่น น้ำที่เหลือจากการซักล้าง เราก็ควรจะเอาไปรดน้ำต้นไม้ ความประหยัดเป็นจุดหนึ่งของการลดความต้องการที่เพิ่มขึ้น การที่เราจะต้องการพื้นที่การเกษตรปลูกผลิตผลการเกษตรให้มากขึ้น ถ้าเรารู้จักประหยัด เราก็จะไม่ต้องการเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น เรื่องอาหารก็จะลดลงไป อย่างเช่นการดื่มกาแฟในการประชุมหลายแห่ง แม้แต่การประชุมนานาชาติ ผมไม่รู้ว่ากาแฟเททิ้งกันเท่าไหร่ แล้วกาแฟมาจากไหน ก็มาจากป่าเขตร้อนป่าเขตร้อนที่โดนทำลายไปเพราะคนพื้นเมืองต้องการทำลายป่า เพื่อขยายพื้นที่ปลูกกาแฟ เพราะกาแฟราคาดี มันมีผลถึงกันหมด
สุรพล ดวงแข : นิตยาสาร “สาระคดี”
ฉบับที่ ๖๕ ปีที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๓๓

ตัวอย่าง เขาหลงรักเจ้าหญิงผู้สูงศักดิ์
          ในเมืองเมืองหนึ่งซึ่งอยู่ไกลสุดโพ้นทะเลมีพระราชาพระองค์หนึ่งเป็นผู้ที่หวงแหนพระราชธิดามาก พระองค์มีธิดา
เพียงองค์เดียว ดังนั้นจึงเอาอกเอาใจบำรุงบำเรอให้ความสุขความสำราญเต็มที่ และเจ้าหญิงองค์นี้ก็มีพระสิริโฉมงดงามที่สุด
อยู่มาวันหนึ่งเจ้าหญิงได้ออกมาเดินเล่นในอุทยานดอกไม้เดินไปก็ร้องเพลงไปน้ำเสียงของเจ้าหญิงช่างอ่อนหวานและ
กัง วาลยิ่งนัก ในขณะที่เดินชมสวนอยู่ก็ได้พบกับองครักษ์หนุ่มของพระราชาเข้าโดยบังเอิญทั้ง สองตกหลุมรักกันในทันที แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าองครักษ์หนุ่มผู้นี้ต่ำต้อยด้วยยศฐาบรรดาศักดิ์ เหลือเกินจึงได้แต่เก็บความรู้สึกไว้ในใจ เมื่อพระราชาทรงทราบข่าวก็กริ้วมาก จึงขับไล่องครักษ์ออกจากวัง เจ้าหญิงเสียพระทัยมาก
ต่อมาพระราชาจึงให้เจ้าหญิงอภิเษกกับเจ้าชายต่างเมืององครักษ์ผู้นี้จึงได้แอบติดตามข่าวของเจ้าหญิงอยู่เงียบๆ เขา
คิด ว่าตนเองนี้ต่ำต้อยเสียเหลือเกิน ถึงปรารถนาเจ้าหญิงมาครองคู่แต่ก็เพียงแค่มองไม่าสมารถไขว่ขว้าไว้กับตนได้ อุปมาดั่ง"กระต่ายหมายจันทร์"

ตัวอย่าง คนที่เขาฉลาดจริงๆ เขาไม่โอ้อวดหรอก อย่างที่เขาเรียกว่า”คมในฝัก”
           ใน การเปิดเรียนภาคแรก นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่เป็นนักเรียนใหม่ในโรงเรียนชื่อดังแห่งหนึ่ง ณ ห้อง ม.1/20 นักเรียนทุกคนเป็นนักเรียนเรียนดี ในห้องนี้มีนักเรียนคนหนึ่งชื่อ”จุ๊บแจง” ชอบ พูดตาโอ้อวดว่าเป็นคนฉลาด สวย รวย มีความพร้อมทุกอย่างและชอบพูดจาดูถูกผู้อื่น คิดว่าตนเองนั้นเก่งอยู่คนเดียว ณ อีกมุมหนึ่งของห้องมีนักเรียนอีกคนหนึ่ง ชื่อ “หนุงหนิง” หนุงหนิงเป็นเด็กเรียบร้อยไม่ค่อยพูด แต่เวลาเพื่อนมาถามการบ้านก็สอนให้เสมอ วันหนึ่งจุ๊บแจงก็ได้พูดกับเพื่อนในห้องว่า”สอบครั้งนี้ฉันต้องได้ที่หนึ่งอย่างแน่นอน ไม่มีใครเรียนดีเท่าเราหรอก” เมื่อ ผลสอบปลายภาคออกมา ปรากฎว่าไม่เป็นดังที่จุ๊บแจงพูดไว้ แต่คนได้ที่หนึ่งกับเป็นหนุงหนิง เมื่อเพื่อนๆรู้ผลสอบก็ชื่นชมหนุงหนิงว่า”แหม หนุงหนิงเธอนี่คมในฝักจริงๆเลยนะ” จุ๊บแจงจึงเสียใจและเสียหน้ามาก และไม่มีใครสนใจจุ๊บแจงเลย

ตัวอย่าง      คนอย่างเขาสองคนเรียกว่าไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่
               มีผู้หญิง สองคนชื่อ หมี และ เหมียว  เขาทำงานอยู่ที่บริษัทเดียวกัน  วันหนึ่งแมวได้เห็นหมี  นำเงินของบริษัทมาใช้  เมื่อหมีรู้เข้าจึงขอร้องให้แมวอย่านำเรื่องนี้ไปบอกเจ้านาย  แมวจึงขอส่วนแบ่งจากเงินที่ได้มาเพื่อเป็นค่าปิดปาก  จากนั้นแมวกับหมีก็ได้ร่วมมือกันโกงเงินของบริษัท  เมื่อเจ้านายตรวจบัญชีดูจึงเรียกทั้งสองคนมาถาม   แต่ไม่มีใครกล้าพูดอะไร  ต่อมาไม่นานเมื่อเจ้านายรู้ความจริงว่าทั้งสองร่วมมือกันโกงเงินบริษัท  จึงได้ไล่ทั้งสองคนออกจากบริษัท

ตัวอย่าง  …โยคีเทศนาทหารทัพลังกาและเมืองผลึกในเรื่องพระอภัยมณี
            “ คือรูปรสกลิ่นเสียงไม่เที่ยงแท้             ย่อมเฒ่าแก่เกิดโรคโศกสงสาร
ความตายหนึ่งพึงเห็นเป็นประธาน                      หวังนิพพานพ้นทุกข์สุขสบาย
ซึ่งบ้านเมืองเคืองเข็ญถึงเช่นนี้                           เพราะโลกีย์ตัณหาพาฉิบหาย
อันศีลห้าว่าอย่าทำให้จำตาย                              จะตกอบายภูมิขุมนรก

                 5. อุปมาโวหาร  หมายถึง โวหารเปรียบเทียบ โดยกตัวอย่าง สิ่งที่คล้ายคลึงกันมาเปรียบเพื่อให้เกิดความชัดเจนด้านความหมาย ด้านภาพ และเกิดอารมณ์ ความรู้สึกมากยิ่งขึ้น กล่าวได้ว่าอุปมาโวหาร คือ ภาพพจน์ประเภทอุปมานั่นเอง อุปมาโวหาร ใช้เป็นโวหารเสริม บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร และเทศนาโวหาร เพื่อให้ชัดเจนน่าอ่าน โดยอาจเปรียบเทียบอย่างสั้น ๆ หรือเปรียบเทียบอย่างละเอียดก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุปมา โวหารนั้นจะนำไปเสริมโวหารประเภทใดเป็นโวหารสำนวนเปรียบเทียบ     เพื่อ ใช้ประกอบข้อความในสาธกโวหาร บรรยายโวหาร พรรณนาโวหารได้เด่นชัดขึ้น ดังตัวอย่างในพรรณนาโวหารจากเรื่องกตัญญูพิศวาสที่กล่าวมาแล้วดังข้อความ “แลดูเหมือนเสากลมเรียวสองต้นที่ประสานลำค้ำจุนร่างกายของเขาอย่างมั่นคง”

วิธีการเขียนเปรียบเทียบมีดังนี้

              ๑. เปรียบเทียบของสิ่งหนึ่งเหมือนสิ่งหนึ่ง จะมีคำว่า เหมือน ราวดุจว่า เช่น ดัง เป็นตัวเชื่อมข้อความ
หญิงสาวสวยเหมือนบัวที่วางอยู่กลางบึง
เขาเป็นคนดุร้ายราวกับเสือ
เด็กๆ เป็นผู้บริสุทธิ์สะอาดประดุจผ้าขาวที่ไม่มีรอยเปื้อน
             ๒. เปรียบเทียบโดยโยงความคิดผู้อ่านไปสู่สิ่งหนึ่ง เช่น ชีวิตเหมือนนวนิยาย เรื่องตลกเหมือนเรื่องศรีธนญชัย เป็นต้น

ตัวอย่างอุปมาโวหาร 

              เขา กาแฟในถ้วย โดยไม่หันมามอง น้ำสีดำหมุนติ้วเป็นวงลึกเหมือนวังน้ำวนในนิยายผจณภัยสยองขวัญ สักครู่มันก็แปรเป็นสีน้ำตาลอ่อนเพราะนมข้นหวานที่นอนก้นอยู่สองเซนติเมตร ครึ่ง เขาหยกช้อนสีเหรียญบาทขึ้นละเลียดด้วยปลายลิ้น ขณะที่สบตาจับจ้องอยู่ที่พาดหัวข่าวประจำวัน
ตัวอย่าง                              
“ ปางพี่มาดสมานสุมาลย์สมร
ดังหมายดวงหมายเดือนดารากร
    อันลอยพื้นอำพรพโยมพราย "






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น